top of page

การเลือกชื่อเว็บไซต์



ก่อนที่เราจะตัดสินใจเปิดเว็บไซต์ไม่ว่าจะให้บริการด้านข้อมูล หรือเพื่อขายสินค้า เบื้องต้น เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โดเมนเนม (Domain name) ส่วนนี่มีความสำคัญอย่างไรกัน ลองมาดูกันคะ


โดเมนเนม (Domain Name) คือ "ชื่อเว็บไซต์" เช่น www.ptmo.io นั่นเองคะ โดเมนเนมเปรียบเสมือนป้ายร้านของเจ้าของร้าน ว่าร้านของท่านชื่ออะไร และสามารถบ่งบอกได้ว่าเกี่ยวกับธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง โดเมนเนมจะมีหลายนามสกุล แต่โดยหลักๆ แล้ว สกุลโดเมนจะแบ่งเป็น 2 จำพวก ได้แก่


1.TLDs (Top level domains) สกุลโดเมนสากล จำแนกได้ดังนี้

.com นิยมมากที่สุด เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการค้า, บริษัท หรือองค์กร

.net นิยมใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต

.org เหมาะสำหรับเว็บไซต์องค์กร สมาคมการกุศลต่าง ๆ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร

.info เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการให้ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ

.biz เหมาะสำหรับเว็บไซต์องค์กร, บริษัท, ห้างหุ้นส่วน และห้างร้านต่าง ๆ คล้าย ๆ กับ .com


2.ccTLDs (Country code top level domains) สกุลโดเมนของแต่ละประเทศ จำแนกได้ดังนี้

ประเทศไทย

.th.co.th ใช้สำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วน ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและตั้งอยู่ในประเทศไทย เท่านั้น

.go.th ใช้สำหรับหน่วยงานของรัฐบาลไทย รวมถึง อบต. อบจ. เทศบาล

.ac.th ใช้สำหรับสถาบันการศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทยา

.in.th ใช้สำหรับหน่วยงานทุกประเภท และบุคคลทั่วไป

.or.th ใช้สำหรับหน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและไม่หวังผลตอบแทนทางธุรกิจ.net.th หน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

.mi.th หน่วยงานทางทหาร


ซึ่งนามสกุลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ .com เพราะเป็นนามสกุลที่เป็นสากลมากที่สุดและจำง่าย หากท่านต้องการมีชื่อโดเมนเนมเป็นของตัวเอง จะต้องตรวจสอบก่อนว่า ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการใช้งานนั้นถูกจับจองไปหรือยัง ท่านสามารถนำชื่อที่ต้องการนั้นไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ เช่น www.whois.com เป็นต้น แต่ถ้าชื่อนั้นถูกจับจองไปแล้ว เราก็ต้องปรับเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมใหม่ให้ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์มากที่สุด ถ้ารอช้า โดเมนเนมที่เราต้องการก็อาจจะถูกคนอื่นจดไปอีกก็ได้นะคะ


- รับทำเว็บไซต์

- รับทำแอปพลิเคชั่นมือถือ

- รับทำ Platform ต่างๆ

- ปรึกษาด้านเว็บไซต์และธุรกิจฟรี [ไม่คิดค่าใช้จ่าย]


ติดต่อได้ที่

#Email: support@ptmo.io

Telegram: @ptmotech

หรือ Inbox เฟนเพจ Facebook ได้เลยค่ะ

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page